วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14

 บันทึกการเรียนครั้งที่ 14

16 /พฤศจิกายน / 2563


วันนี้เป็นวันสุดท้ายที่ได้เรียนและวันนี้อาจารย์ก็ให้ทำกิจกรรมซึ่งเขียนความรู้ทั้งหมดที่เราเรียนมาเกี่ยวกับ 6 กิจกรรมหลัก ว่าแต่ละอันมีวัตถุประสงค์เพื่ออะไรมีประเด็นสำคัญอย่างไร






กิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมของเด็กปฐมวัยมีดังนี้
    1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายอย่างอิสระตามจังหวะ ซึ่งจังหวะและดนตรีที่ใช้ประกอบได้แก่ เสียงตบมือ เสียงเพลง เสียงเคาะไม้ เคาะเหล็ก รำมะนา กลอง ฯลฯ
    2. กิจกรรมสร้างสรรค์ เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับงานศิลปศึกษาต่าง ๆ ได้แก่ การวาดภาพระบายสี การปั้น การพิมพ์ภาพ การพับ ตัด ฉีก ปะ และประดิษฐุ์เศษวัสดุ ที่มุ่งพัฒนากระบวนการคิดสร้างสรรค์ การรับรู้เกี่ยวกับความงามและส่งเสริมกระตุ้นให้เด็กแต่ละคนได้แสดงออกตาม ความรู้สึกและความสามารถของตนเอง
    3. กิจกรรมเสรี เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เล่นกับสื่อและเครื่องเล่นอย่างอิสระในมุมการ เล่นกิจกรรมการเล่นแต่ละประเภทสนองตอบความต้องการตามธรรมชาติของเด็ก
    4. กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้ฟัง พูด สังเกต คิด และปฏิบัติการทดลอง ให้เกิดความคิดรวบยอดและเพิ่มพูนทักษะต่าง ๆ ด้วยวิธีการหลากหลาย เช่น การสนทนา ซักถามหรืออภิปราย สังเกต ทัศนศึกษา และปฏิบัติการทดลองตามกระบวนการเรียนรู้
    5. กิจกรรมกลางแจ้ง เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้ออกนอกห้องเรียนไปสู่สนามเด็กเล่นทั้งที่บริเวณ กลางแจ้งและในร่มเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกอย่างอิสระ โดยยึดเอาความสนใจ และความสามารถของเด็กแต่ละคนเป็นหลัก
    6. กิจกรรมเกมการศึกษา เป็นกิจกรรมการเล่นที่มีกระบวนการในการเล่นตามชนิดของเกมประเภทต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียน


จบการเรียนการสอนเทอมนี้


การประเมิน

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนดีมีเทคนิคต่างๆ 
ประเมินตนเอง :  ตั้งใจเรียน
ประเมินเพื่อน : ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน






บันทึกการเรียนครั้งที่ 13

 บันทึกการเรียนครั้งที่ 13

วันที่ 9 / พฤศจิกายน / 2563


วันนี้อาจารย์ให้จับกลุ่มแล้วก็ดูแผนเป็นรูปเล่มแล้วอาจารย์ก็ให้คำแนะนำเปิดในคอมแล้วก็ให้คำแนะนำว่าต้องปรับตรงไหนและต้องเพิ่มตรงไหนแต่ละกลุ่มกแล้วก็ให้แต่ละกลุ่มเนี่ยไปปรับใช้แล้วก็นำส่งอาจารย์



วันนี้อาจารย์ได้พูดถึงมาตรฐานและตัวบ่งชี้ที่อาจารย์ได้สคเข้าไปอาจารย์บอกว่าให้ไปดูว่ามีกี่มาตรฐานมีกี่ตัวบ่งชี้


ตัวบ่งชี้เป็นเป้าหมายในการพัฒนาเด็กที่มีความสัมพันธ์สอดคล้องกับมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์จานวน ๑๒ มาตรฐาน โดยเลือกตัวบงชี้ในแต่ละมาตรฐานให้สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้และนาไปจัดประสบการณ์ผ่าน 6 กิจกรรม โดยมาตรฐาน ๑๒ มาตรฐาน ประกอบด้วย

๑.พัฒนาการด้านร่างกาย ประกอบด้วย ๒ มาตรฐานคือ

มาตรฐานที่ ๑ ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยและมีสุขนิสัยที่ดี

มาตรฐานที่ ๒ กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรงใช้ได้อย่างคล่องแคล่วและประสาน

สัมพันธ์กัน

๒.พัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ประกอบด้วย ๓ มาตรฐานคือ

มาตรฐานที่ ๓ มีสุขภาพจิตดีและมีความสุข

มาตรฐานที่ ๔ ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหว

มาตรฐานที่ ๕ มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตใจที่ดีงาม

๓.พัฒนาการด้านสังคม ประกอบด้วย ๓ มาตรฐานคือ

มาตรฐานที่ ๖ มีทักษะชีวิตและปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

มาตรฐานที่ ๗ รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และความเป็นไทย

มาตรฐานที่ ๘ อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมใน

ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

๔.พัฒนาการด้านสติปัญญา ประกอบด้วย ๔ มาตรฐานคือ

มาตรฐานที่ ๙ ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย

มาตรฐานที่ ๑๐ มีความสามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐานการเรียนรู้

มาตรฐานที่ ๑๑ มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์

มาตรฐานที่ ๑๒ มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้และมีความสามารถในการแสวงหาความรู้ได้

เหมาะสมกับวัย




การประเมิน

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ให้คำแนะนำดี 

ประเมินตนเอง :  ตั้งใจเรียน

ประเมินเพื่อน : ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน




บันทึกการเรียนครั้งที่ 12


บันทึกการเรียนครั้งที่ 12

วันที่ 2 / พฤศจิกายน /  2563


วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มนำเอาโบชัวมาเพื่อที่จะนำมาทำกิจกรรมอาจารย์ให้จับกลุ่มสองโรงเรียนอยู่ด้วยกันจากนั้นอาจารย์ก็ได้ถามว่าเราอยากได้เรื่องอะไรที่เราสนใจกลุ่มดิฉันได้เรื่องเครื่องใช้ไฟฟ้าจากนั้นอาจารย์ก็ได้ให้เราสร้างเป็นหนังสืออะไรเอ่ยโดยเอารูปของโบชัวมาตัดแปะแล้วเขียนว่าอะไรเอ่ยเป็นเป็นของใช้แล้วก็มีรูปเช่น รูปตู้เย็น 





หลังจากนั้นอาจารย์ก็ได้พูดถึงที่มาของ หลักสูตรปฐมวัย

การจัดการศึกษาปฐมวัยในประเทศ
        ประเทศไทยมีการจัดการศึกษาปฐมวัยมานานแล้ว  โดยเจ้านายเชื้อพระวงศ์เข้ามาเรียนในโรงเรียนราชกุมารี  ส่วนชาวบ้านก็นิยมนำลูกไปฝากที่วัด  ต่อมาเมื่อมีการจัดการศึกษาอย่างเป็นระบบจึงมีชั้นมูลศึกษาเกิดขึ้น  และมีโรงเรียนราษฎรที่จัดการศึกษาปฐมวัย  ได้แก่โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย  โรงเรียนราชินี  และโรงเรียนมาร์แตร์เดอีได้เริ่มเปิดการสอนแผนกอนุบาลขึ้นโดยนำวิธีการสอนแบบเฟรอเบลและมอนเตสเซอรี่มาเป็นตัวอย่าง

ในยุคหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข รัฐบาลได้แต่งตั้งโรงเรียนอนุบาลของรัฐ แห่งแรกในปี  พ.ศ.2483  คือ  โรงเรียนอนุบาลละอออุทิศ  และยังคงดำเนินการสอนอยู่จนปัจจุบันและตั้งแต่ปี  พ.ศ.2498  เป็นต้นมา  รัฐบาลเริ่มมีนโยบายส่งเสริมให้โรงเรียนเอกชนเปิดการสอนระดับอนุบาลศึกษาขณะเดี่ยวกันหน่วยงานต่างๆ ก็เริ่มเข้ามามีส่วนร่วมจัดการศึกษาในระดับนี้มากยิ่งขึ้น ปัจจุบันประเทศไทยมีการจัดเตรียมความพร้อมให้เด็กในวัยนี้หลากหลายรูปแบบ  มีทั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบการศึกษาโดยตรงและหน่วยงานอื่นๆร่วมกันดำเนินงาน


1. นโยบายของการศึกษาปฐมวัยในอดีต
         นโยบายของการศึกษาปฐมวัยในประเทศไทยตั้งแต่อดีตสาสมรถศึกษาได้จากแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติในแต่ละสมัยที่ผ่านมาได้ดังนี้
        1.1 แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 3  (พ.ศ.2515  - 2519) ระบุไว้ว่า  จะปรับปรุงคุณภาพของโรงเรียนอนุบาลของรัฐให้ดีขึ้น  เพื่อเป็นตัวอย่างแก่เอกชนละมีการเปิดโรงเรียนอนุบาลในอำเภอใหญ่ที่ความเจริญทางเศรษฐกิจและมีประชากรหนาแน่น
         1.2  แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่  4 (พ.ศ. 2520 -  2524)  ระบุไว้ว่า  การศึกษาอนุบาลนั้นรัฐจะไม่ดำเนินการแต่จะกำหนดระเบียบในการจัดการศึกษาอนุบาลให้เป็นประโยชน์ต่อการศึกษามากยิ่งขึ้น  ซึ้งสอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติฉบับพุทธศักราช  2520  ที่มีรายละเอียดระบุไว้  ดังนี้
          “16.  รัฐพึงเร่งจัดและสนับสนุนการอบรมเลี้ยงดูเด็กในวัยก่อนประถมศึกษาโดยรัฐจะสนับสนุนให้ท้องถิ่นและภาคเอชนจัดให้มากที่สุด  สำหรับการจัดการศึกษาระดับนี้ของรัฐจะจัดเพียงเพื่อเป็นตัวอย่างและเพื่อการค้นคว้าวิจัยเท่านั้น
           “30. การศึกษาระดับก่อนประถมศึกษาเป็นการศึกษามุ่งอบรมเลี้ยงดูเด็กก่อนการศึกษาภาคบังคับ  เพื่อเตรียมให้มีความพร้อมทุกด้านดีพอที่จะเข้ารับการศึกษาต่อไป  การจัดสถานศึกษาระดับก่อนประถมศึกษานั้นอาจจะเป็นการศึกษาในระบบโรงเรียน  หรือการศึกษานอกโรงเรียน โดยอาจจะเป็นสถานรับเลี้ยงดูเด็กหรือศูนย์เด็กปฐมวัย และในบางกรณีอาจจัดเป็นชั้นเด็กเล็กหรือโรงเรียนอนุบาลได้
            1.3  แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 5 ( พ.ศ. 2525  -  2529)  ก็ได้กำหนดนโยบายเกี่ยวกับการศึกษาปฐมวัยไว้เช่นกัน  โดยได้เน้นถึงความสำคัญของเด็กก่อนวัยปฐมศึกษาเป็นเป้าหมายสำคัญ  ทั้งนี้เพราะเด็กวัยนี้กำลังประสบปัญหาในเรื่องขาดอาหาร ขาดหลักประกันทางสาธารณสุขและทางด้านการศึกษา  ฉะนั้นรัฐบาลจึงได้กำหนดนโยบายเกี่ยวกับการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ว่า  รัฐจะสนับสนุนให้ท้องถิ่นและเอกชนจัดให้มากที่สุด โดยรัฐจะจัดให้มากที่สุดโดยรัฐจะจัดทำเพียงเพื่อเป็นตัวอย่าง การจัดการศึกษามุ่งเสริมสร้างการโภชนาการที่ถูกต้องและเตรียมความพร้อมทุกด้านเพื่อเข้ารับการศึกษาระดับต่อไป
               1.4  แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 6 (พ.ศ.  2530  - 2534)   ได้กำหนดนโยบายและเป้าหมายในการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษาไว้ว่า  รัฐจะมุ่งขยายการจัดการศึกษาระดับนี้ไปสู่ส่วนภูมิภาคชนบท  ส่งเสริมให้เอกชนจัดโรงเรียนอนุบาลสำหรับเด็กวัย  3 – 5 ปี  ให้มากขึ้น  และรัฐจะส่งเสริมให้เอกชนจัดโรงเรียนอนุบาลให้โรงเรียนร่วมกับชุมชนดำเนินการในพื้นที่มีปัญหาทางการศึกษาทางเศรษฐกิจ และพื้นที่ชนบทสำหรับในเขตเมืองจะจัดเป็นตัวอย่างและเพื่อการวิจัย โดยมุ่งเน้นการเตรียมความพร้อมของเด็ก
                1.5 แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่  7  (พ.ศ. 2535  -  2539)  กำหนดวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมวัยไว้ว่า  เพื่อจัดและส่งเสริมให้เด็กก่อนประถมศึกษาได้รับการพัฒนาทางร่างกาย  จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ให้สอดคล้องหลักจิตวิทยาพัฒนาการ  และให้มีการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าเรียนระดับประถมศึกษาอย่างทั่วถึง
              1.6  แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่  8 (พ.ศ.  2540  - 2544 )  ระบุบการพัฒนาศักยภาพของคนไทยทุกคนอย่างเท่าเทียมกันจะต้องเริ่มตั้งแต่การเตรียมความพร้อมของเด็กปฐมวัยไปจนตลอดชีวิต และกำหนดเป้าหมายว่าเด็กปฐมวัยทุกคนต้องได้รับการเตรียมความพร้อมอย่างน้อยปีก่อนเข้าเรียนในระดับประถมศึกษา  และขยายการบริการการศึกษาปฐมวัย (3 – 5 ปี )จากร้อยละ  65  เป็นไม่ต่ำกว่าร้อยละ  90   นอกจากนี้ในส่วนของเด็กปฐมวัยจึงได้กำหนดเป้าหมายไว้คือ  เพิ่มปริมาณการเตรียมความพร้อมทุกด้านของเด็กปฐมวัย ( 0 – 5 ปี )  อย่างมีคุณภาพ” ระบุว่าจะมีการเตรียมความพ้อมโดย
1)            สนับสนุนและส่งเสริมให้เยาวชน  คู่สมรส   พ่อแม่มีความรู้เกี่ยวกับชีวิตครอบครัวและวิธีดูแลลูกที่ถูกต้อง  เหมาะสม  โดยมอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องประสานการดำเนินงานไปในทิศทางเดี่ยวกัน
2)            สนับสนุนและส่งเสริมให้เด็กก่อนวัยเรียนได้รับบริการการเตรียมความพร้อมในรูปแบบต่างๆ เช่น  ศูนย์พัฒนาเด็ก   สถานรับเลี้ยงเด็กในที่ทำงานและสถานประกอบการ  โดยดำเนินร่วมกันระหว่างภาครัฐ  เอกชน  ชุมชน  และครอบครัว
3)            สนับสนุนให้เด็กทุกคนได้รับการส่งเสริมด้านโภชนาการอย่างเพียงพอและมีคุณภาพ
               1.7  แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่  9 (พ.ศ. 2545  -  2559) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคนอย่างรอบด้านและสมดล เพื่อเป็นฐานหลักของพัฒนา  และกำหนดนโยบายหลักเพื่อการดำเนินการว่า  มีการพัฒนาทุกคนตั้งแต่แรกเกิดจนตลอดชีวิตให้โอกาสเข้าถึงการเรียนรู้โดยกำหนดเป้าหมายให้เด็กปฐมวัยอายุ  0 – 5 ปี ได้รับการพัฒนาและเตรียมความพร้อมทุกด้านเข้าสู่ระบบการศึกษา  และกำหนดกรอบการดำเนินงานคือ
                           1. ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาและเตรียมความพร้อมของเด็กปฐมวัยในรูปแบบที่หลากหลาย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้การศึกษาแก่พ่อแม่ผู้ปกครอง  รวมทั้งผู้ที่เตรียมตัวเป็นพ่อแม่
                           2.  ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาปฐมวัยให้มีคุณภาพ ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายเพื่อพัฒนารากฐานพัฒนาการของทุกชีวิตอย่างเหมาะสม
                           3. จัดบริการการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งที่เป็นการศึกษาในระบบ  นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย  เพื่อให้บุคคลสามารถเข้าถึงบริการทางการศึกษาที่หลากหลายเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่องตามความต้องการและความสนใจ

                 จะเห็นได้ว่าตามแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ผ่านมารัฐได้มีนโยบายเกี่ยวกับการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยอย่างต่อเนื่องและพัฒนาเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆคือ ในช่วงแผนการพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่  34  และ 5 (พ.ศ. 2515  -  2529 ) รัฐยังไม่ได้รับภาระในการจัดการศึกษาปฐมวัยและสนับสนุนให้เอกชนดำเนินการ ส่วยแผนพัฒนาการการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 6 รัฐได้ให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาปฐมวัยเพิ่มมากขึ้นคือ  นอกจากสนับสนุนให้เอกชนจัดแล้วรัฐยังสนับสนุนให้โรงเรียนของรัฐในท้องถิ่นห่างไกล  จัดการศึกษาในระดับนี้เพิ่มมากขึ้นจนกระทั้งถึงแผนที่  78 และ 9 เน้นการพัฒนาเด็กเพื่อเตรียมความพร้อมในทุกด้านทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์  สังคม  สติปัญญา   อย่างสมดุลในรูปแบบที่หลากหลายทั้งในระบบ และนอกระบบ และให้ความสำคัญกับการให้การศึกษาแก่พ่อแม่ผู้ปกครองเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับลูกตั้งแต่แรกเกิดถึง  5 ปี

หลังจากนั้นอาจารย์ก็ดูแผนและให้แก้แผนใหม่หมด


การประเมิน

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ให้คำแนะนำดี สอดแทรกความรู้ได้ดี

ประเมินตนเอง :  ตั้งใจเรียน สนุกและตั้งใจฟัง

ประเมินเพื่อน : ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน








 

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11

 บันทึกการเรียนครั้งที่ 11

19/ตุลาคม / 2563



วันนี้อาจารย์ได้พูดเกี่ยวกับ

สาระการเรียนรู้ - ประสบการณ์สำคัญ - หัวใจ - ทำให้เกิดการเรียนรู้ - เนื้อหาความรู้


อิงหลักสูตรสถานศึกษา /ยืดหลักเรียนรู้จากสิ่งที่ใกล้ตัวมากที่สุด 

1. ตัวเด็ก

2. บุคคล

3. สถานที่

4. สิ่งต่างๆรอบตัว



มาตารฐานของปฐมวัย 12 มาตราฐาน 



และหลังจากนั้นอาจารย์ได้ให้ทำกิจกรรมออกแบบเอาอะไรเด้อด้วยอาจารย์จะมีหลอดมาให้กลุ่ม 20 อันแล้วก็ต่อเป็น สไลคเดอหลังจากนั้นก็เอามาตั้งเรียงกันแล้วดูว่าของใครไหลลงช้ามากที่สุดกลุ่มนั้นชนะ การทำแบบนี้เป็นการทำโดยการมีหลักการการศึกษาก่อนที่จะทำให้ออกมาเป็นสไลเดอ 









การประเมิน

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ให้คำแนะนำดีสนุก

ประเมินตนเอง :  ตั้งใจเรียน

ประเมินเพื่อน : ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน


วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9

 บันทึกการเรียนครั้งที่ 9

วันที่ 12 ตุลาคม 2563



ความรู้ที่ได้รับวันนี้

วันนี้อาจารย์ได้ให้เสนอคลิปวีดีโอเสริมประสบการณ์ ที่อาจารย์ได้มอบหมายไว้ตั้งแต่อาทิตย์ที่แล้ว โดยอาจารย์ก็ไล่ดูคลิปของเพื่อนๆแต่ละคน โดยอาจารย์ได้แนะนำและแทรกเสริมความรู้ 
สาระของการเรียนรู้ และประสบการณ์สำคัญ ก็คือเนื้อหา (ข้อความรู้)
ส่วนกระบวนการเรียนรู้เราต้องให้สอดคล้องกับวิธีการ
และอาจารย์ได้แทรกเสริมข้อแนะนำต่างๆ





กิจกรรมเสริมประสบการณ์์  หมายถึง กิจกรรมที่ส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัวอย่างมีจุดหมาย ฝึกให้เด็กคิด แก้ไขปัญหาอย่างมีเหตุผล ฝึกการเข้าสังคม และฝึกการใช้ภาษา ผ่านการปฏิบัติด้วยตนเอง โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า ด้วยวิธีการจัดกิจกรรมอย่างหลากหลาย เช่น การสนทนา อภิปราย การเล่านิทาน การสาธิต ทดลอง การปฏิบัติการ การศึกษานอกสถานที่ การเล่นบทบาทสมมุติ ร้องเพลง ท่องคำคล้องจอง เล่นเกม

กิจกรรมเสริมประสบการณ์มีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาการคิดของเด็กปฐมวัย เพราะลักษณะการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์อยู่บนพื้นฐานตามแนวคิดว่า เด็กทุกคนมีศักยภาพในการสร้างองค์ความรู้ โดยอาศัยสภาพจริงที่สอดคล้องกับบริบทของสังคมและวัฒนธรรมของคน โดยจัดอย่างสอดคล้องกับธรรมชาติของเด็กปฐมวัย ซึ่งเป็นวัยแห่งการเรียนรู้ผ่านการสัมผัส การซึมซับ การเลียนแบบ การกระทำ การเล่นอย่างมีความสุข เพราะการที่เด็กได้ทดลองด้วยตนเองนั้นจะส่งผลต่อการพัฒนาความสามารถในการสรุปข้อค้นพบหรือเรียกว่า องค์ความรู้ ได้จากประสบการณ์ตรง เด็กได้มีโอกาสปฏิบัติโดยวิธีการที่หลากหลาย อีกทั้งยังเป็นการฝึกเด็กให้ได้คิดแก้ ปัญหา ใช้เหตุผลและฝึกปฏิบัติเพื่อให้เกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนด้วยวิธีการต่างๆ ได้แก่ การสนทนา การอภิปราย การเล่านิทาน การสาธิต การใช้คำถาม การทดลอง ปฏิบัติการ ศึกษานอกสถานที่ การเล่านิทาน บทบาทสมมติ การร้องเพลง เล่นเกม ท่องคำคล้องจอง ฯลฯ


การประเมิน

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ให้คำแนะนำดี สอดแทรกความรู็ได้ดี

ประเมินตนเอง :  ตั้งใจเรียน

ประเมินเพื่อน : ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน




บันทึกการเรียนครั้งที่ 8

 บันทึกการเรียนครั้งที่ 8 

วันที่ 5 ตุลาคม 2563


อาทิตย์นี้อาจารย์ได้มอบหมายงานให้ไปอัดคลิปเสริมประสบการณ์ของหน่วยที่ตนเองได้แล้วนำมาเสนอในอาทิตย์ถัดไป




วันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่ 7

 บันทึกการเรียนครั้งที่ 7 

28 กันยายน 2563

 

วันนี้อาจารย์ให้นำเสนองานตั้งแต่อาทิตย์ก่อนโน้นโดยอาจารย์ได้แบ่งหัวข้อไว้ 6 เรื่องดังนี้

1. ไฮสโคป

2. มอนเตสเซอรี่

3. โปรเจ็คแอบโพสต์

4. สืบสอบ

5. สะเต็ม

6. วอร์ดอฟ

เริ่มการนำเสนอ






1. การเรียนรู็แบบไฮสโคป

การสอนเป็นกิจกรรมสร้างสรรค์การเรียนรู้พัฒนาคน การเรียนรู้และการสอนทำให้มีการคิดเชื่อมโยงความรู้ได้อย่างรวดเร็ว การศึกษาปฐมวัยจึงเป็นการศึกษาที่จัดให้แก่เด็ก 6 ขวบแรก เป็นการจักการศึกษาเพื่อการดูแล และสร้างเสริมเด็กให้พัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ ด้วยการเรียนรู้ที่ถูกต้องแจ้งชัด ลักษณะการจัดการเรียนการสอนจึงมุ่งจำเพาะไปที่พัฒนาเด็ก ใจเด็ก และอนาคตเด็ก

การสอนเด็กปฐมวัยไม่ใช่การถ่ายทอดความรู้ แต่เป็นการจัดประสบการณ์อย่างมีรูปแบบเพื่อส่งเสริมพัฒนาการ พัฒนาสมรรถนะทางปัญญา และพัฒนาจิตนิยมที่ดี การเรียนการสอนสำหรับปฐมวัย มีหลากหลายรูปแบบ แต่สำหรับรูปแบบที่ผู้เขียนจะนำเสนอนั้นก็เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่มีความน่าสนใจอีกรูปแบบหนึ่ง รูปแบบการเรียนการสอนที่ว่านั้นก็คือ รูปแบบการเรียนการสอนแบบไฮ/สโคป




ความเป็นมา

การเรียนการสอนแบบไฮ/สโคป เป็นแนวคิดการจัดการศึกษาที่พัฒนามาจากโครงการ เพอรี่ พรีสคูล (Perry Preschool Project) เมืองยิปซีแลนติ (Ypsilanti) รัฐมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี ค.ศ. 1960 โดย เดวิด ไวคาร์ด (David Weikart) และคณะ เป็นโปรแกรมการศึกษาที่มีหลักสูตรและการสอนเน้นการเรียนรู้โดยใช้หลักการสร้างความรู้ (constructive process) จากการกระทำ ที่ต้องมีการร่วมกันคิดร่วมกันทำตามแผนที่กำหนด ซึ่งต่อมาได้มีผู้นำรูปแบบการศึกษาของไฮสโคปไปใช้อย่างแพร่หลาย รวมถึงการนำมาใช้กับการเรียนการสอนระดับปฐมวัยศึกษาด้วย


แนวคิดพื้นฐาน

การสอนแบบไฮ/สโคป มีพื้นฐานแนวคิดมาจากทฤษฎีของเพียเจท์ (Piage’s Theory)ว่าด้วยพัฒนาทางสติปัญญา ที่เน้นการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติที่เด็กสามารถสร้างความรู้ได้เองโดยใช้กระบวนการสร้างสรรค์การเรียนรู้ (Constructive process of learning) เด็กจะเรียนรู้จากการกระทำของตน การประเมินผลงานอย่างมีแบบแผน ช่วยให้เด็กเกิดความรู้ขึ้น เด็กสามารถสร้างความรู้ได้จากประสบการณ์ที่มีความหมาย ซึ่งจากแนวคิดนี้ ในการเรียนเด็กสามารถเลือกเรียนเลือกปฏิบัติจัดกระทำดำเนินการเรียนรู้และประเมินผลงานของตนเอง เด็กจะได้รับการกระตุ้นจากครูให้คิดนำอุปกรณ์มากระทำหรือเล่นด้วยการวางแผนการทำงาน แล้วดำเนินตามแผนไว้ตามลำดับพร้อมแก้ปัญหาและทบทวนงานที่ทำด้วยการทำงานร่วมกันกับเพื่อนเป็นกลุ่มเล็กๆ โดยมีครูคอยให้กำลังใจ ถามคำถาม สนับสนุน และเพิ่มเติมสิ่งที่เด็กต้องเรียนรู้


แนวคิดสำคัญ

แนวการสอนแบบไฮ/สโคปเน้นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำผ่านมุมเล่นที่หลากหลาย ด้วยสื่อและกิจกรรมที่เหมาะสมกับการพัฒนาการของเด็กและการแก้ปัญหาอย่างกระตือรือร้น


การเรียนการสอน

การเรียนการสอนแบบไฮ/สโคป เป็นการสร้างองค์ความรู้จากการที่เด็กได้ลงมือจัดกระทำกับอุปกรณ์ หรือสิ่งแวดล้อมซึ่งถือเป็นประสบการณ์ตรง โดยที่ครูจะเป็นคนเตรียมอุปกรณ์ให้กับเด็กและกระตุ้นให้เด็กพัฒนาและดำเนินกิจกรรม โดยใช้หลักปฏิบัติ 3 ประการ คือ

- การวางแผน ( Plan ) เป็นการกำหนดแนวทางการปฏิบัติหรือดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย มีการสนทนาระหว่างครับเด็ก ว่าจะทำอะไร อย่างไร การวางแผนกิจกรรมอาจจะใช้แสดงด้วยภาพหรือสัญลักษณ์ประจำตัวเด็ก เป็นกระบวนการที่เด็กมีโอกาสเลือก และตัดสินใจ

- การปฏิบัติ ( Do ) คือการลงมือกระทำตามแผนที่วางไว้ เป็นส่วนที่เด็กได้ร่วมกันคิด แก้ปัญหา ตัดสินใจและทำด้วยตนเอง เป็นส่วนที่เด็กได้มีการพัฒนาการพูดและปฏิสัมพัธ์ทางสังคมสูง

- การทบทวน ( Review ) เป็นช่วงที่ได้งานตามจุดประสงค์ ช่วงนี้จะมีการอภิปรายและเล่าถึงผลงานที่เด็กทำเพื่อทบทวนว่า เด็กสามารถปฏิบัติตามแผนที่วางไว้หรือไม่ มีการเปลี่ยนแปลงแผนอย่างไร และชี้ให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างแผนกับการปฏิบัติ และผลงานที่ทำ รวมถึงการเล่าประสบการณ์ต่างๆ ที่ได้รับ

การที่เด็กได้ลงมือทำงามหรือกิจกรรมด้วยความสนใจ จะทำให้เด็กสนุกกับการทกงาน การทำตามขั้นตอนอย่างเป็นระบบ ผลงานที่เกิดขึ้นนับเป็นความสำเร็จของเด็กในการลงมือทำกิจกรรมกับเพื่อนอย่างมีความสุข

สรุป

การเรียนการสอนแบบไฮ/สโคป สามารถนำไปใช้ในกิจกรรมต่างๆ ได้ทุกกิจกรรม เพราะกระบวนการและวิธีการสนับสนุนการเรียนรู้ของเด็กเปิดกว้างมีการคิดการปฏิบัติ ตามวงจรของการวางแผน การปฏิบัติ และการทบทวน ( plan-do-review cycle ) เมื่อทำกิจกรรมแล้วเด็กสามารถที่คิดกิจกรรมอื่นต่อเนื่องได้ตามความสนใจ จุดสำคัญอยู่ที่ประสบการณ์การเรียนรู้ ( Key experience ) ที่เด็กควรได้รับระหว่างกิจกรรม ซึ่งครูต้องมีปฏิสัมพันธ์และกระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้จากกิจกรรมให้มากที่สุด

การเรียนการสอนทุกรูปแบบต่างก็ส่งผลต่อเด็กในการเรียนรู้ แต่สิ่งที่มุ่งหวังให้เด็กได้รับอย่างน้อยต้องส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญา เพื่อการเรียนรู้ที่ดีและการอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้มีความคิดอิสระสร้างสรรค์ ริเริ่ม ซึ่งรูปแบบการเรียนการสอนแต่ละรูปแบบจะมีจุดเน้นสำคัญของรูปแบบที่เป็นลักษณะเฉพาะของรูปแบบนั้นๆ

ครู คือบุคคลที่จะช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ หากรูปแบบการเรียนการสอนที่มีความสอดคล้องภาวะการเรียนรู้ของเด็กและครูมีความเข้าใจในรูปแบบการเรียนการสอน ก็จะเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ที่ดีให้กับเด็กมากยิ่งขึ้น


2. การเรียนรู้แบบมอนเตสซอรี่

การสอนแบบมอนเตสซอรี่ (Montessori) เป็นแนวคิดที่เน้นเด็กเป็นหลักสำคัญในการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้เด็กสามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองได้อย่างอิสระ และซึมซับการเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว ทำให้เด็กเกิดความอยากรู้ อยากเห็นและแสวงหาความอยากรู้อย่างมีสมาธิ มีวินัยในตัวเองและเกิดพัฒนาการทุก ๆ ด้านในเวลาเดียวกัน


ที่มาของการสอนแบบมอนเตสซอรี่

ดร.มาเรีย มอนเตสซอรี่ เป็นแพทย์หญิงคนแรกชาวอิตาลีและเป็นผู้คิดวิธีการสอนแบบมอนเตสซอรี่ (Montessori) โดยเริ่มจากการทำงานกับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา จากการสังเกตอย่างใกล้ชิดและค้นคว้าทดลอง ทำให้ค้นพบว่าปัญหาของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาคือการดูแลเอาใจใส่ และคิดว่าการดูแลเด็กเหล่านี้ หากเด็กได้รับการกระตุ้นทางสติปัญญาน่าจะดีขึ้น มอนเตสซอรี่จึงคิดหาวิธีการที่จะช่วยเด็กให้มีพัฒนาการ ทางสติปัญญาและอารมณ์ให้ดีมากยิ่งขึ้น และได้มีการพัฒนาการสอนสำหรับเด็กปกติด้วย


การสอนแบบมอนเตสซอรี่

เริ่มจากการสังเกต ศึกษาพัฒนาการของเด็กของแต่ละคน การสอนแบบมอนเตสซอรี่จะไม่เน้นการเรียนรู้แบบท่องจำ แต่จะเน้นการเล่นหรือการทำกิจกรรมเป็นหลัก โดยการให้เด็กได้เลือกทำกิจกรรมต่าง ๆ ตามที่ตัวเองสนใจ มอนเตสซอรี่ได้จัดทำอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่หลากหลายตามความสนใจและตามวุฒิภาวะของเด็กที่แตกต่างกัน ซึ่งจะช่วยพัฒนาทางด้านประสบการณ์ชีวิต งานวิชาการ และทางประสาทสัมผัส เช่น การแต่งกาย การทำความสะอาด การขัดและอุปกรณ์ในการทำงานบ้าน สำหรับอุปกรณ์จะมีการออกแบบให้เด็กได้พัฒนาสติปัญญา และพัฒนาการคิดอย่างมีระบบมีเหตุผล เช่น อุปกรณ์ทางคณิตศาสตร์ อุปกรณ์ทางภาษาและหลักภาษา การมองเห็น การชิมรส การได้ยิน การดมกลิ่น เป็นความรู้สึกที่ใช้ประสาทสัมผัสร่วมกัน


แนวการสอนแบบมอนเตสซอรี่จะเริ่มจากการเรียนรู้แบบรูปธรรมไปสู่แบบนามธรรม และอุปกรณ์ของมอนเตสซอรี่สามารถนำมาใช้ได้หลายรูปแบบ อุปกรณ์เป็นสิ่งที่ช่วยควบคุมตัวเด็กในการทำงาน เด็กจะพอใจเมื่อทำงานต่าง ๆ ได้ถูกต้อง และในการจัดเก็บอุปกรณ์จะต้องมีที่เฉพาะสำหรับวางอุปกรณ์ เพื่อที่เด็กจะได้จัดเก็บอุปกรณ์เข้าที่ให้เรียบร้อย เมื่อเล่นเสร็จแล้วซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้เด็กรู้จักการเรียนรู้การใช้อุปกรณ์ร่วมกัน


การสอนแบบมอนเตสซอรี่จะช่วยพัฒนาทางด้านประสบการณ์ชีวิตให้กับเด็ก

การถูบ้านช่วยพัฒนาทางด้านประสบการณ์ชีวิต

หลักการสอนของมอนเตสซอรี่

เด็กได้รับการยอมรับนับถือ เพราะเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน เด็กจึงควรได้รับการยอมรับในลักษณะเฉพาะของตัวเอง คุณครูควรจัดกิจกรรมพัฒนาให้เด็กแต่ละคนตามความสามารถ และพัฒนาการความต้องการตามธรรมชาติของเด็กในแต่ละช่วงวัย


จิตซึมซับ เด็กมีจิตแห่งการหาความรู้ที่เปรียบเสมือนฟองน้ำ โดยเด็กจะซึมซับเอาข้อมูลต่าง ๆ จากสิ่งแวดล้อมเข้าไปในจิตของตัวเอง


ช่วงเวลาหลักของชีวิต เด็กแรกเกิดจนถึง 6 ปี เป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดสำหรับการเรียนรู้ของการพัฒนาด้านสติปัญญาและจิตใจ ในช่วงเวลานี้ เด็กควรมีอิสระในการเลือกกิจกรรมที่ตัวเองสนใจ


การเตรียมสิ่งแวดล้อม เด็กจะได้รับการพัฒนาให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด จากการจัดสภาพแวดล้อมที่มีความพร้อมอย่างมีระบบและมีจุดมุ่งหมายไปตามขั้นตอน โดยมีสื่ออุปกรณ์มอนเตสซอรี่เป็นตัวกำหนดขอบเขตในการทำงาน


การศึกษาด้วยตัวเอง เด็กได้รู้จักเรียนรู้ระเบียบวินัยของการอยู่ร่วมกันภายในสังคม และมีอิสระในการทำงาน รู้จักเรียนรู้การแก้ปัญหาด้วยตัวเอง เรียนรู้ที่จะรับผิดชอบ และมีความภาคภูมิใจต่อความสำเร็จในการทำงาน จนทำให้เด็กเกิดความเชื่อมั่นและเห็นคุณค่าในตัวเอง


การวัดประเมินผล คุณครูในชั้นเรียนจะเป็นผู้ประเมินผล โดยใช้วิธีการสังเกตและวิเคราะห์เด็กเป็นรายบุคคล ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง ซึ่งครูผู้มีประสบการณ์และผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการศึกษาแบบมอนเตสซอรี่ จะมีความเชี่ยวชาญในการสังเกต จดบันทึก และวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้เรียน


การจัดการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่

การจัดการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่นั้น จะเน้นการจัดสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนให้เหมือนบ้าน โดยมีคุณครูเป็นผู้ให้การสนับสนุน ให้คำปรึกษา และกระตุ้นให้เด็กคิดแก้ปัญหาด้วยตัวเอง โดยใช้จิตซึมซับกับสิ่งแวดล้อม และคำนึงถึงความสนใจความต้องการของเด็กในการเรียนรู้ ยึดความแตกต่างระหว่างบุคคล และส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างอิสระ โดยจะจัดสิ่งแวดล้อมและอุปกรณ์ให้เด็กได้ฝึกทักษะด้านกลไกผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า ที่ช่วยให้เด็กรู้จักควบคุมการทำงานด้วยตัวเอง


มอนเตสซอรี่ ส่งเสริมให้เด็กได้เรียนด้วยตัวเองอย่างอิสระ

ส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง

สิ่งแวดล้อมและอุปกรณ์เป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับการสอนแบบมอนเตสซอรี่ที่ช่วยให้เด็กเรียนรู้ด้วยตัวเอง จากการที่เด็กได้สัมผัสกับงานที่ได้พบเห็นในชีวิตประจำวัน และการเรียนแบบมอนเตสซอรี่นั้นต้องจัดพื้นที่ว่างสำหรับเด็กโดยเฉพาะ เพื่อที่เด็กจะได้นั่งทำงานทั้งบนเก้าอี้และบนพื้น เพราะเด็กจะได้มีส่วนร่วมและรับผิดชอบในการจัดเก็บหรือวางอุปกรณ์ให้เป็นระเบียบ


อุปกรณ์ของมอนเตสซอรี่แต่ละชิ้นจะเน้นอยู่ที่การรับรู้โครงสร้างของอุปกรณ์ที่จัดไว้ โดยผ่านประสาทสัมผัสของการเคลื่อนไหว และในการจะใช้อุปกรณ์แต่ละชนิด คุณครูจะต้องเป็นผู้สาธิตการใช้อุปกรณ์ให้เด็กดูก่อน ซึ่งจะทำให้เด็กเกิดความสนใจและอยากทำกิจกรรมกับอุปกรณ์นั้น ๆ อุปกรณ์แต่ละชนิดจะมีลำดับความยาก-ง่ายต่อเนื่องกันไป


ความยาก-ง่ายใน การจัดการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่ ขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ของเด็กแต่ละคน

ความยาก-ง่ายในการทำกิจกรรมจะขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ของเด็ก

หลักการที่สำคัญที่สุดของการจัดการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่ (Montessori) สำหรับเด็กปฐมวัย คือ คุณครูต้องคำนึงถึงความต้องการของเด็ก ปลูกฝังให้เด็กเจริญเติบโตตามความต้องการตามธรรมชาติ และเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้อย่างอิสระ การจัดการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่ (Montessori) เชื่อว่า การที่เด็กได้เรียนรู้ตามความต้องการด้วยตัวเองและซึมซับการเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อม จะช่วยทำให้เด็กได้เรียนรู้ในสิ่งที่ต้องการ เด็กจะได้รับอิสระในขอบเขตที่ได้จัดเตรียมไว้ เมื่อเด็กได้รับผลสำเร็จตามความต้องการ จะทำให้เด็กเกิดความพึงพอใจ มีความรู้สึกที่ดีต่อตัวเองและสิ่งแวดล้อมค่ะ


3. การเรียนรู้แบบ project approach

Project Approach (การสอนแบบโครงการ) เป็นการเรียนที่มุ่งเน้นให้เด็กมีส่วนร่วมและกระตุ้นให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง พร้อมเปิดโอกาสให้เด็กเรียนรู้ในสิ่งที่เด็กสนใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวเด็ก และตอบสนองตามความต้องการที่หลากหลายของเด็ก ๆ โดยเป็นกิจกรรมเชิงปฏิบัติที่เน้นให้เด็กลงมือทำได้ด้วยตัวเอง การสอนแบบโครงการนี้ถือเป็นเครื่องมือการสอนที่ดีอย่างยิ่งสำหรับคุณครู เพราะจะแสดงให้เห็นถึงสิ่งต่าง ๆ ตั้งแต่แนวคิดในเรื่องแห่งความเป็นจริง การตั้งคำถามจากความสนใจที่แท้จริง และการค้นหาคำตอบในเชิงลึกของเด็กในหัวข้อหรือเรื่องที่เด็กสนใจ แล้วยังส่งเสริมทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ผ่านการสำรวจ การสืบค้น การจดบันทึก และการคิดวิเคราะห์ เพื่อให้ได้ข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ ตามเรื่องที่เด็กสนใจ ผ่านประสบการณ์ตรงที่หลากหลาย ตลอดจนการใช้ความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะที่สรุปออกมาเป็นชิ้นงาน


คุณครูและเด็ก ๆ พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน

คุณครูและเด็ก ๆ พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน

การจัดการเรียนการสอนแบบโครงการ (Project Approach) ผู้สอนสามารถจัดเป็นนิทรรศการที่เป็นการสรุปความคิดรวบยอดของเด็ก ๆ ที่จะนำมาเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้รู้ถึงวิธีการทำงานที่เป็นกระบวนการตามขั้นตอน นอกจากการเรียนรู้แล้ว Project Approach ยังเป็นการสอนเชิงลึกเกี่ยวกับหัวข้อในความเป็นจริงที่เด็ก ๆ มีความสนใจและพยายามสืบค้นด้วยตัวเอง ทั้งยังช่วยให้เด็กมีส่วนร่วมในสังคมที่เป็นประชาธิปไตยได้เป็นอย่างดี


วิธีการสอนแบบ Project Approach

เป็นวิธีการสอนให้เด็กเลือกเรื่อง หรือหัวข้อของโครงการตามความสนใจของเด็ก ๆ โดยเฉพาะ คุณครูสามารถกำหนดขอบเขตตามพัฒนาการของเด็ก ๆ ผ่านกระบวนการ 3 ระยะ ตั้งแต่ขั้นเริ่มต้นโครงการ ขั้นพัฒนาโครงการ จนถึงการสรุปโครงการ ซึ่งจะช่วยให้คุณครูสามารถจัดระเบียบ ดูความก้าวหน้าของกิจกรรมตามการพัฒนาความสนใจของเด็ก และการมีส่วนร่วมกับหัวข้อการเรียนรู้นั้น ๆ


ในระหว่างขั้นตอนการวางแผนเบื้องต้น คุณครูจะเลือกหัวข้อการเรียนรู้ตามความสนใจของเด็กเป็นหลัก และระดมประสบการณ์ความรู้ แนวคิดของตัวเด็ก แล้วนำเสนอเป็นหัวข้อใน Mind Map จากนั้นแตกออกมาเป็นหัวข้อย่อย เพื่อที่จะถูกเพิ่มในหัวข้อของ Mind Map และใช้สำหรับบันทึกความก้าวหน้าของโครงการอีกด้วย


เด็ก ๆ ตื่นเต้น ดีใจที่ได้เรียนรู้ข้าวโพดจากของจริง

เด็ก ๆ ตื่นเต้น ดีใจที่ได้เรียนรู้ข้าวโพดจากของจริง

การกำหนดหัวข้อโครงการ

หัวข้อการเรียนรู้สามารถกำหนดได้จากเรื่องราวต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันของตัวเด็กเอง เพราะทุก ๆ คำถามที่เด็กถาม มักเป็นเรื่องใกล้ตัวที่เด็กพบเห็นได้จากประสบการณ์ตรงในชีวิตประจำวัน และในคำถามที่เด็กถาม คุณครูจะเป็นเพียงผู้ชี้แนะและจะไม่ให้คำตอบทันทีกับคำถามที่เด็กถาม แต่คุณครูจะให้เด็กค้นหาคำตอบด้วยตัวเอง ผ่านการสืบค้นจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ ตัวอย่าง เช่น โครงการไปรษณีย์ เด็ก ๆ มีข้อสงสัยว่า ไปรษณีย์ คืออะไร... แล้วมีไว้ทำอะไร... คุณครูก็จะเป็นผู้แนะนำหรือชี้แนะ โดยใช้การระดมความคิดจากเด็ก ๆ ถึงความเป็นไปได้ในหัวเรื่องนั้น ๆ เด็กบางคนที่มีความรู้หรือมีประสบการณ์ตรง อาจจะแบ่งปันความรู้ให้เพื่อน ๆ ฟัง และให้เด็ก ๆ ไปหาข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอินเทอร์เน็ต แผ่นพับ นิตยสาร และผู้ปกครองที่บ้าน เมื่อได้ข้อมูลมาแล้ว เด็ก ๆ ก็จะนำข้อมูลที่ได้มาสนทนาพูดคุยแลกเปลี่ยนกันทีละหัวข้อ เพื่อที่จะตรวจสอบให้แน่ใจว่าเด็ก ๆ มีความเข้าใจในหัวข้อที่กำลังแลกเปลี่ยนกันหรือไม่ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้การสอนแบบโครงการใช้เวลาในการสอนค่อนข้างนาน หลายสัปดาห์กว่าจะเสร็จสมบูรณ์ หรือในบางหัวข้อก็อาจใช้เวลาเป็นเทอม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสนใจของเด็ก ๆ ด้วยค่ะ


การสอน 3 ระยะของ Project Approach

การเรียนรู้แบบ Project Approach แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ


ระยะที่ 1 : การเริ่มต้นโครงการ

คุณครูร่วมกันอภิปรายหัวข้อกับเด็ก ๆ เพื่อค้นหาประสบการณ์ที่เด็กมี สิ่งที่เด็กรู้แล้ว และสิ่งที่เด็กอยากรู้ เด็ก ๆ จะได้เรียนรู้จากประสบการณ์ และแสดงความเข้าใจแนวคิดที่เกี่ยวข้อง จากการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน คุณครูจะใช้คำถามถาม เพื่อกระตุ้นให้เด็กตอบคำถาม และทำจดหมายเกี่ยวกับหัวเรื่องการเรียนรู้ของโครงการส่งกับบ้านถึงผู้ปกครอง เพื่อสนับสนุนให้ผู้ปกครองได้พูดคุยกับลูกเกี่ยวกับหัวข้อนั้น ๆ และแบ่งปันความรู้ให้กับเด็ก ๆ เพื่อเด็กจะได้นำความรู้ใหม่ ๆ ที่ได้รับมาพูดคุยแลกเปลี่ยนกับเพื่อน ๆ ในห้องต่อไป


ระยะที่ 2 : การพัฒนาโครงการ

ขั้นตอนนี้จะเป็นการจัดโอกาสให้เด็ก ๆ ได้ทำงานภาคสนามและพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่เด็กสนใจเรียนรู้ โดยคุณครูจะเป็นผู้จัดหาทรัพยาการต่าง ๆ เช่น หนังสือ เอกสารงานวิจัย พร้อมทั้งแนะนำวิธีการตรวจสอบที่หลากหลายให้กับเด็ก เพื่อช่วยเด็กในการสืบค้นและรวบรวมข้อมูลด้วยวัตถุจริง เปิดโอกาสให้เด็กแต่ละคนมีส่วนร่วมในการเป็นตัวแทนของสิ่งที่เค้ากำลังสืบค้น และช่วยให้เด็กสามารถทำงานตามความสามารถของตัวเองได้ เช่น บางคนมีทักษะพื้นฐานด้านงานประดิษฐ์ การวาดภาพ การนำเสนอ และการเล่นละคร โดยคุณครูช่วยสนับสนุนให้เด็กได้ทำงานตามความถนัดของแต่ละคนผ่านการอภิปรายในห้องเรียน ซึ่งหัวข้อของ Mind Map ที่ออกแบบไว้ก่อนหน้า จะให้ข้อมูลย่อเกี่ยวกับความคืบหน้าของโครงการด้วยค่ะ


เด็ก ๆ เรียนรู้และลงมือการดำนาด้วยตนเอง

เด็ก ๆ เรียนรู้เรื่องข้าวและลงมือดำนาด้วยตนเองอย่างสนุกสนาน

ระยะที่ 3 : การสรุปโครงการ

เด็กและคุณครูร่วมกันจัดนิทรรศการ โดยให้เด็กแบ่งปันสิ่งที่เรียนรู้เกี่ยวกับหัวข้อ Project Approach ให้เด็ก ๆ ช่วยกันอภิปรายถึงหลักฐานที่สืบค้น เปรียบเทียบการตั้งสมมุติฐานว่าตรงกันหรือไม่ เล่าเรื่องโครงการของพวกเขาให้ผู้อื่นฟัง โดยเน้นจุดเด่นของโครงการ คุณครูและผู้ปกครองช่วยเด็ก ๆ วางแผนการดำเนินการ พร้อมเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งที่เด็ก ๆ ทำและค้นพบ อย่างเต็มความสามารถ ความสนุกสนาน ความกระตือรือร้นและความภูมิใจในตัวเด็กผ่านผลงานต่าง ๆ ทั้งนี้ครูควรบันทึกความคิดและความสนใจของเด็กในระหว่างการทำโครงการ เพื่อเปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงทางความสนใจ ความรู้ และความคิดของเด็ก ๆ ว่าก่อนเริ่มโครงการและหลังจากสรุปโครงการมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร และเพื่อเป็นแนวทางในการหาหัวข้อของโครงการในครั้งต่อไป


โครงการ Project Approach เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง

โครงการ Project Approach เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง

จากที่กล่าวมาการสอนแบบ Project Approach หรือการสอนแบบโครงการ คือ กิจกรรมที่เน้นกระบวนการการลงมือปฏิบัติ และการใช้กระบวนการคิดที่เกิดจากการศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จากความสนใจของตัวเด็กเอง ที่เด็ก ๆ ให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ อย่างลึกซึ้งในรายละเอียดของหัวเรื่องที่เด็กเลือก อย่างมีความสุข สนุกสนาน และยังส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ด้วยตนเองและรู้จักทำงานอย่างมีแบบแผน นอกจากนั้นยังสร้างสัมพันธ์ที่ดีระหว่างโรงเรียน ชุมชน และผู้ปกครอง เนื่องจากการสอนแบบโครงการผู้ปกครองและชุมชน จะมีส่วนสนับสนุนการเรียนรู้ของเด็ก ๆ ได้เป็นอย่างมาก


4. การเรียนรู้แบบสืบเสาะ


 สอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es)

ความหมาย

การสืบเสาะหาความรู้เป็นแนวคิดที่มีความซับซ้อนและมีความหมายแตกต่างกันไปตามบริบทที่ใช้และผู้ที่ให้คำจำกัดความ โดยศูนย์กลางของการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้นั้น มีต้นกำเนิดจากนักวิทยาศาสตร์ ครู และ นักเรียน (Budnitz, 2003)

การสืบเสาะหาความรู้ เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่ใช้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ (Constructivism) ซึ่งกล่าวไว้ว่าเป็นกระบวนการที่นักเรียนจะต้องสืบค้น เสาะหา สำรวจตรวจสอบ และ ค้นคว้าด้วยวิธีการต่างๆ จนทำให้นักเรียนเกิดความเข้าใจ และ เกิดการรับรู้ความรู้นั้นอย่างมีความหมาย จึงจะสามารถสร้างเป็นองค์ความรู้ของนักเรียนเอง และเก็บเป็นข้อมูลไว้ในสมองได้อย่างยาวนาน สามารถนำมาใช้ได้เมื่อมีสถานการณ์ใดๆ มาเผชิญหน้า (สาขาชีววิทยา สสวท., 2550)

การสืบเสาะหาความรู้ คือ การถามคำถามที่สงสัยและเป็นปัญหา ที่สามารถสืบค้นหาคำตอบได้ และสื่อสารคำตอบออกมาได้ (คณะศึกษานิเทศก์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการ จัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 1, 2549; Budnitz, 2003; และ Wikipedia, 2007)

การสืบเสาะหาความรู้ เกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย คือ การถามคำถาม ออกแบบการสำรวจข้อมูลการสำรวจข้อมูล การวิเคราะห์ การสรุปผล การคิดค้นประดิษฐ์ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสื่อสารคำอธิบาย (Wu & Hsieh, 2006)

การสืบเสาะหาความรู้เป็นกระบวนการที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ศึกษาอธิบายปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ซึ่งวางอยู่บนพื้นฐาน ของหลักฐานหรือเหตุผลต่างๆ และอีกความหมายคือเป็นกระบวนการที่นักเรียนใช้ในการค้นคว้า หาคำตอบอย่างมีระบบเพื่ออธิบายเหตุการณ์ต่างๆ ที่ต้องการศึกษากระบวนการสืบเสาะหาความรู้ในห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในการจัดการเรียนการสอน ผู้สอนสามารถเลือกจัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านกระบวนการต่างๆ ในการสืบเสาะหาความรู้ตามบริบทของผู้สอน ผู้เรียน โรงเรียน และแหล่งการเรียนรู้ที่มีอยู่ตามความเหมาะสมโดยครูเป็นผู้สนับสนุนให้นักเรียนได้สำรวจปรากฏการณ์ต่างๆและกระตุ้นให้นักเรียนสร้างความเข้าใจ ทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างถูกต้อง (Hogan & Berkowitz, 2000)

กระบวนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry) 5Es ประกอบด้วยขั้นตอนที่สำคัญ ดังนี้

1. ขั้นสร้างความสนใจ (engagement) เป็นการนำเข้าสู่บทเรียนหรือเรื่องที่สนใจ ซึ่งอาจเกิดขึ้นเองจากความสงสัย หรืออาจเริ่มจากความสนใจของตัวนักเรียนเอง หรือเกิดจากการอภิปรายในกลุ่ม เรื่องที่น่าสนใจอาจมาจากเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในช่วงเวลานั้น หรือเป็นเรื่อง ที่เชื่อมโยงกับความรู้เดิมที่เพิ่งเรียนรู้มาแล้ว เป็นตัวกระตุ้นให้นักเรียนสร้างคำถาม กำหนดประเด็นที่จะศึกษาในกรณีที่ยังไม่มีประเด็นใดน่าสนใจ ครูอาจให้ศึกษาจากสื่อต่างๆ หรือเป็นผู้กระตุ้น ด้วยการเสนอประเด็นขึ้นมาก่อน แต่ไม่ควรบังคับให้นักเรียนยอมรับประเด็นหรือคำถามที่ครูกำลังสนใจเป็นเรื่องที่จะใช้ศึกษา เมื่อมีคำถามที่น่าสนใจ และนักเรียนส่วนใหญ่ยอมรับให้เป็นประเด็น ที่ต้องการศึกษาจึงร่วมกันกำหนดขอบเขตและแจกแจงรายละเอียดของเรื่องที่จะศึกษาให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น อาจรวมทั้งการรวบรวมความรู้ประสบการณ์เดิม หรือความรู้จากแหล่งต่างๆ ที่จะ ช่วยให้นำไปสู่ความเข้าใจเรื่อง หรือประเด็นที่จะศึกษามากขึ้น และมีแนวทางที่ใช้ในการสำรวจตรวจสอบอย่างหลากหลาย

2. ขั้นสำรวจและค้นหา (exploration) เมื่อทำความเข้าใจในประเด็นหรือคำถามที่สนใจจะศึกษาอย่างถ่องแท้แล้ว ก็มีการวางแผนกำหนดแนวทางการสำรวจตรวจสอบ ตั้งสมมติฐาน กำหนดทางเลือกที่เป็นไปได้ ลงมือปฏิบัติเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อสนเทศ หรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ วิธีการตรวจสอบอาจทำได้หลายวิธี เช่น ทำการทดลอง ทำกิจกรรมภาคสนาม การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยสร้างสถานการณ์จำลอง (simulation) การศึกษาหาข้อมูลจากเอกสารอ้างอิงหรือจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลอย่างเพียงพอที่จะใช้ในขั้นต่อไป

3. ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (explanation) เมื่อได้ข้อมูลอย่างเพียงพอจากการสำรวจตรวจสอบแล้ว จึงนำข้อมูล ข้อสนเทศที่ได้มาวิเคราะห์ แปลผล สรุปผล และนำเสนอผลที่ได้ในรูปต่างๆ เช่น บรรยายสรุป สร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ หรือวาดรูป สร้างตาราง ฯลฯ การค้นพบในขั้นนี้อาจเป็นไปได้หลายทาง เช่น สนับสนุนสมมติฐานที่ตั้งไว้โต้แย้งกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ หรือไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ได้กำหนดไว้ แต่ผลที่ได้จะอยู่ในรูปใดก็สามารถสร้างความรู้และช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้

4. ขั้นขยายความรู้ (elaboration) เป็นการนำความรู้ที่สร้างขึ้นไปเชื่อมโยงกับความรู้เดิมหรือแนวคิดที่ได้ค้นคว้าเพิ่มเติมหรือนำแบบจำลองหรือข้อสรุปที่ได้ไปใช้อธิบายสถานการณ์หรือเหตุการณ์อื่น ถ้าใช้อธิบายเรื่องต่างๆ ได้มาก็แสดงว่าข้อจำกัดน้อย ซึ่งก็จะช่วยให้เชื่อมโยงกับเรื่องต่างๆ และทำให้เกิดความรู้กว้างขวางขึ้น

5. ขั้นประเมิน (evaluation)เป็นการประเมินการเรียนรู้ด้วยกระบวนการต่างๆ ว่านักเรียนมีความรู้อะไรบ้าง อย่างไรและมากน้อยเพียงใด จากขั้นนี้จะนำไปสู่การนำความรู้ ไปประยุกต์ใช้ในเรื่องอื่นๆ การนำความรู้หรือแบบจำลองไปใช้อธิบายหรือประยุกต์ใช้กับเหตุการณ์หรือเรื่องอื่นๆ จะนำไปสู่ข้อโต้แย้งหรือข้อจำกัดซึ่งก่อให้เป็นประเด็นหรือคำถาม หรือปัญหาที่จะต้องสำรวจตรวจสอบต่อไป ทำให้เกิดเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ จึงเรียกว่า inquiry cycle กระบวนการสืบเสาะหาความรู้จึงช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ทั้งเนื้อหาหลัก และหลักการ ทฤษฎี ตลอดจนการลงมือปฏิบัติเพื่อให้ได้ความรู้ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ต่อไป

รูปแบบการเรียนการสอนแบบ Inquiry Cycles (5Es)

นักการศึกษากลุ่ม BSCS (Biological Science Curriculum Study) ได้นำวิธีการสอนแบบ Inquiry มาใช้ในการพัฒนาหลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์ โดยเสนอขั้นตอนในการเรียนการสอนเป็น 5 ขั้นตอน เรียกว่า การเรียนการสอนแบบ Inquiry Cycle หรือ 5Es ได้แก่ Engage Explore Explain Elaborate และ Evaluate กระบวนการเรียนการสอน ในแต่ละขั้นตอนการสอน ของรูปแบบการเรียนการสอนแบบ Inquiry Cycle (5Es) ซึ่งมีขอบข่ายรายละเอียด ดังนี้

1. การสร้างความสนใจ (Engage) เป็นการนำเข้าสู่บทเรียนหรือเรื่องที่สนใจ

ซึ่งอาจเกิดขึ้นเองจากความสงสัยหรือความสนใจของตัวนักเรียนเอง หรือเกิดจากการอภิปรายภายในกลุ่ม เรื่องที่น่าสนใจอาจมาจากเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในช่วงเวลานั้น หรือเป็นเรื่องที่เชื่อมโยงกับความรู้เดิมที่เพิ่งเรียนมารู้มาแล้วเป็นตัวกระตุ้นให้นักเรียนสร้างคำถาม กำหนดประเด็นที่จะศึกษา ในกรณีที่ยังไม่มีประเด็นใดน่าสนใจ ครูอาจะจะจัด กิจกรรมหรือสถานการณ์เพื่อกระตุ้น ยั่วยุ หรือท้าทายให้นักเรียนตื่นเต้น สงสัย อยากรู้อยากเห็น หรือขัดแย้ง เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา การศึกษา ค้นคว้า หรือการทดลอง แต่ไม่ควรบังคับให้นักเรียนยอมรับประเด็นหรือปัญหาที่ครูกำลังสนใจ เป็นเรื่องที่จะศึกษา ทำได้หลายแบบ เช่น สาธิต ทดลอง นำเสนอข้อมูล เล่าเรื่อง/เหตุการณ์ ให้ค้นคว้า/อ่านเรื่อง อภิปราย/พูดคุย สนทนา ใช้เกม ใช้สื่อ วัสดุอุปกรณ์ สร้างสถานการณ์/ปัญหาที่น่าสนใจ ที่น่าสงสัยแปลกใจ

2. การสำรวจและค้นคว้า (Explore) นักเรียนดำเนินการสำรวจ ทดลอง ค้นหา

และรวบรวมข้อมูล วางแผนกำหนดการสำรวจตรวจสอบ หรือออกแบบการทดลอง ลงมือปฏิบัติ เช่น สังเกต วัด ทดลอง รวบรวมข้อมูล ข้อสนเทศ หรือปรากฏการณ์ต่างๆ

3. การอธิบาย (Explain) นักเรียนนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจและค้นหา

มาวิเคราะห์ แปลผล สรุปและอภิปราย พร้อมทั้งนำเสนอผลงานในรูปแบบต่างๆ ซึ่งอาจเป็นรูปวาด ตาราง แผนผัง ผลงานมีความหลากหลาย สนับสนุนสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือโต้แย้งกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ หรือไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่กำหนดไว้ โดยมีการอ้างอิงความรู้ประกอบการให้สมเหตุสมผล การลงข้อสรุปถูกต้องเชื่อถือได้

มีเอกสารอ้างอิงและหลักฐานชัดเจน

4. การขยายความรู้ (Evaborate)

4.1 ครูจัดกิจกรรมหรือสถานการณ์ เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ลึกซึ้งขึ้น หรือขยายกรอบความคิดกว้างขึ้นหรือเชื่อมโยงความรู้เดิมสู่ความรู้ใหม่หรือนำไปสู่การศึกษาค้นคว้า ทดลอง เพิ่มขึ้น เช่น ตั้งประเด็นเพื่อให้นักเรียน ชี้แจงหรือร่วมอภิปรายแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ซักถามให้นักเรียนชัดเจนหรือกระจ่างในความรู้ที่ได้หรือเชื่อมโยงความรู้ที่ได้กับความรู้เดิม

4.2 นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรม เช่น อธิบายและขยายความรู้เพิ่มเติมมีความละเอียดมากขึ้น ยกสถานการณ์ ตัวอย่าง อธิบายเชื่อมโยงความรู้ที่ได้เป็นระบบและลึกซึ้งยิ่งขึ้น หรือสมบูรณ์ละเอียดขึ้น นำไปสู่ความรู้ใหม่หรือความรู้ที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ประยุกต์ความรู้ที่ได้ไปใช้ในเรื่องอื่นหรือสถานการณ์อื่นๆ หรือสร้างคำถามใหม่และออกแบบการสำรวจ ค้นหา และรวบรวมเพื่อนำไปสู่การสร้างความรู้ใหม่

5. การประเมิน (Evaluate)

5.1 นักเรียนระบุสิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้ทั้งด้านกระบวนการและผลผลิต

5.2 นักเรียนตรวจสอบความถูกต้องของความรู้ที่ได้ เช่น วิเคราะห์วิจารณ์แลกเปลี่ยน

ความรู้ซึ่งกันและกัน คิดพิจารณาให้รอบคอบทั้งกระบวนการและผลงาน อภิปราย ประเมินปรับปรุง เพิ่มเติมและสรุป ถ้ายังมีปัญหา ให้ศึกษาทบทวนใหม่อีกครั้ง อ้างอิงทฤษฎีหรือหลักการและเกณฑ์ เปรียบเทียบผลกับสมมติฐาน เปรียบเทียบความรู้ใหม่กับความรู้เดิม

5.3 นักเรียนทราบจุดเด่น จุดด้อยในการศึกษาค้นคว้า หรือทดลองการพัฒนารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยวิธีการสืบเสาะและสืบสวนหาความรู้

วิธีการสอนแบบสืบสอบเป็นวิธีการที่ให้ผู้เรียนค้นหาความรู้ด้วยตนเอง ด้วยกระบวนการ

ทางวิทยาศาสตร์ และมีผู้สอนเป็นเพียงผู้อำนวยการความสะดวก ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

ในการหาความรู้ ซึ่งผู้เรียนต้องอาศัยปัจจัยสำคัญ คือ

1. วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) หมายถึง ขั้นตอนการหาความรู้โดยเริ่มตั้งแต่การระบุปัญหา การตั้งสมมติฐาน การออบแบบการทดลอง และทดลอง การเก็บรวบรวมข้อมูลการวิเคราะห์และสรุปผล

          2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Science Process Skills) ซึ่งหมายถึง ทักษะการคิด ทั้งทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน และทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นผสมที่ใช้ในการดำเนินการทดลอง


5. การเรียนรู็แบสะเต็ม

สะเต็มศึกษา(Science Technology Engineering and Mathematics Education:STEM Education) คือ แนวทางการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และสามารถบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี กระบวนการทางวิศวกรรม และคณิตศาสตร์ ไปใช้ในการเชื่อมโยงและแก้ปัญหา ในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนากระบวนการหรือผลผลิตใหม่ควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21

ดังนั้น สะเต็มศึกษาจึงไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นการต่อยอดหลักสูตรโดยบูรณาการการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี กระบวนการทางวิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ เพื่อนำไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง และการประกอบอาชีพในอนาคต


สะเต็มศึกษาจึงส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมหรือโครงงานที่มุ่งแก้ปัญหาที่พบเห็นในชีวิตจริง เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ ทักษะชีวิต ความคิดสร้างสรรค์ นำไปสู่การสร้างนวัตกรรม ผู้เรียนที่มีประสบการณ์ในการทำกิจกรรมหรือโครงงานสะเต็มจะมีความพร้อมที่จะไปปฏิบัติงานที่ต้องใช้องค์ความรู้ และทักษะด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีในภาคการผลิต และการบริการที่สำคัญต่ออนาคตของประเทศ เช่น การเกษตร อุตสาหกรรม การพลังงาน การจัดการสิ่งแวดล้อม การบริการสุขภาพ ลอจิสติกส์


การทำกิจกรรมหรือโครงงานสะเต็มไม่ได้จำกัดอยู่ในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และการงานอาชีพและเทคโนโลยี แต่สามารถนำความรู้ในวิชาอื่น เช่น ศิลปะ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สุขศึกษา พลศึกษา มาบูรณาการได้อีกด้วย


6. การเรียนการสอนแบบวอร์ดอฟ

การเรียนการสอนแบบวอลดอร์ฟ ( Waldorf Method)


การศึกษาปฐมวัย เป็นการศึกษาที่จัดให้แก่เด็กปฐมวัย ลักษณะของการจัดการศึกษาเน้นการดูแลควบคู่ไปกับการให้การศึกษา รูปแบบการเรียนการสอนแต่ละรูปแบบมีจุดเด่นเฉพาะของรูปแบบที่ครูสามารถเลือกใช้หรือประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของผู้เรียนและชั้นเรียนของตน จุด สำคัญของการใช้รูปแบบอยู่ที่ครูเข้าใจมโนทัศน์ของรูปแบบ แนวคิดพื้นฐาน หลักการสอนวิธีจัดการเรียนการสอนการจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บทบาทครู


แนวคิดพื้นฐาน


การเรียนการสอนแบบวอลดอร์ฟอยู่บนพื้นฐานที่ว่าการเรียนรู้ของคนเกิดจากความสมดุลของความคิด ความรู้สึก และเจตจำนงของคน ๆ นั้น หากเด็กได้อยู่ในบรรยากาศแห่งความต้องการ ความรู้สึกสบายใจ ความผ่อนคลาย เด็กจะถ่ายทอดความคิดและการเรียนรู้อย่างแยบคลายร่วมไปกับการทำกิจกรรมที่เขากระทำอยู่


รูดอล์ฟ สไตเนอร์ ( Rudolf Stiner , 1861 – 1925 ) ได้จัดตั้งโรงเรียนวอลดอร์ฟ ( Waldorf School ) แห่งแรกขึ้นที่สตุทการ์ต ประเทศเยอรมนี เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 1919 โดยมีความเชื่อว่าการศึกษาคือการช่วยคนให้ดำเนินวิถีชีวิตแห่งตนที่ถูกต้องตามธรรมชาติ ด้วยการให้เด็กทำกิจกรรมตามแต่ตนสนใจโดยมีครูและผู้ปกครองเป็นผู้ป้องกันเด็กจากการรบกวนของโลกสมัยใหม่และเทคโนโลยี สิ่งที่เด็กสัมผัสต้องเป็นธรรมชาติที่บริสุทธ์


แนวคิดของสไตเนอร์เน้นการเรียนรู้ของเด็กอย่างเป็นธรรมชาติ เพราะสไตเนอร์เชื่อว่าเด็กสามารถพัฒนาศักยภาพแห่งตนได้ภายใต้การเรียนรู้อย่างเป็นธรรมชาติไม่ต้องตกแต่งการสอนของครู ต้องเป็นการสร้างการเรียนรู้อย่างนุ่มนวลและแทรกซึมไปกับความรู้สึกของเด็กตามธรรมชาติโดยไม่ต้องสัมผัสกับเทคโนโลยี


หลักการสอน


หัวใจของการเรียนการสอนแบบวอลดอร์ฟ คือ การสร้างความสมดุลของจิตมนุษย์ 3 ประการ ได้แก่ ความคิด ความรู้สึก และการกระทำ โดยไม่มีการรบกวนจากเทคโนโลยีภายนอก ความสงบทางจิตใจจะช่วยให้เด็กเรียนรู้จากการใช้วินัยในตนเอง


วิธีจัดการเรียนการสอน


การเรียนการสอนตามแบบวอลดอร์ฟเป็นวิธีการตามแบบธรรมชาติ เป็นไปตามบรรยากาศของชุมชนและตารางกิจกรรมประจำวัน ที่ครูและผู้เรียนจะเรียนรู้ร่วมกันตามความสนใจของเด็ก วิธีการจัดการเรียนการสอนจะเป็นการจัดกระทำทั้งระบบตั้งแต่บรรยากาศของโรงเรียน สิ่งแวดล้อมและห้องเรียนต้องเป็นไปตามวิถีธรรมชาติ รวมถึงการจัดการเรียนการสอนของครู ในขั้นตอนการสอนของครูจะมีลักษณะเฉพาะต่างจากการเรียนการสอนแบบอื่น ๆ ตรงที่การกระตุ้นการเรียนรู้เริ่มจากการแสดงแบบให้เด็กเห็นตามบรรยากาศที่จูงใจ

การจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้


การเรียนรู้ของวอลดอร์ฟมาจากการซึมซับด้วยการสืบสานโดยตามธรรมชาติและตามธรรมชาติที่หล่อหลอมเข้าภายในตัวเด็กทั้งกายและจิตวิญญาณ บรรยากาศการเรียนรู้รอบตัวเด็กทั้งในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียนหรือกลางแจ้งต้องเป็นบรรยากาศที่งดงามตามธรรมชาติที่บริสุทธิ์ ประกอบด้วยความสงบและอ่อนโยน


บทบาทครู


ครูมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการควบคุมเรียนรู้และการใช้ชีวิตอย่างธรรมชาติของเด็ก งานของครูที่โรงเรียนคือการจัดการเรียนการสอนด้วยการเป็นตัวอย่าง การจัดสิ่งแวดล้อมที่มีบรรยากาศอบอุ่นและผ่อนคลาย ในขณะเดียวกันครูต้องเป็นผู้เชื่อมสานงานโรงเรียนสู่บ้านเพื่อสานภารกิจการสร้างพลังการเรียนรู้อย่างธรรมชาติให้เกิดขึ้นกับเด็ก


ครูต้องทำหน้าที่ในการติดตามประเมินผลความเจริญก้าวหน้าของเด็กในการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายบุคคล ครูมิใช่เป็นเพียงผู้ที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ แต่ครูจะถ่ายทอดความคิด ความรู้สึก ความมุ่งมั่นและความรักอย่างแท้จริงให้กับเด็กเพื่อให้เด็กได้พบโอกาสของการพัฒนาศักยภาพภายในตนเองได้มากที่สุดและเต็มศักยภาพ


สรุป


ข้อดีของการเรียนการสอนตามแบบวอลดอร์ฟ ได้แก่ การใช้วิถีธรรมชาติเพื่อพัฒนาการเรียนรู้เป็นสะระหนึ่งที่สำคัญซึ่งครูสามารถนำไปประยุกต์สู่การสอนตามปกติได้ การใช้สื่อการเรียนรู้ธรรมชาติที่ไม่ใช้อุปกรณ์สำเร็จรูปสามารถสร้างเสริมการเรียนรู้ให้กับเด็กมากกว่า ครูควรให้ความสนใจกับการใช้อุปกรณ์ธรรมชาติให้เด็กได้สัมผัสและนำมาสร้างสรรค์การเรียนรู้ด้วนตนเอง



จบการนำเสนอ และวันนี้ก็ได้ความรู้เพิ่มเติมจากอาจารย์และเพื่อนมากมาย จบการเรียนการสอนวันนี้



อาจารย์  : อาจารย์ให้ความรู้มากมายสอนได้ดีมีการตั้งคำถาม 

เพื่อน : ตั้งใจเรียนและฟังที่เพื่อนนำเสนอ

ตัวเอง : เพื่อนนำเสนอวันนี้ได้ความรู้เยอะ









บันทึกการเรียนครั้งที่ 14

 บันทึกการเรียนครั้งที่ 14 16 /พฤศจิกายน / 2563 วันนี้เป็นวันสุดท้ายที่ได้เรียนและวันนี้อาจารย์ก็ให้ทำกิจกรรมซึ่งเขียนความรู้ทั้งหมดที่เราเร...