วันเสาร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4

 บันทึกการเรียนครั้งที่ 4 

7/ กันยายน / 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4 




วันนี้งดการเรียนการสอนเนื่องจากหยุดชดเชยวันสงกรานต์

4-7 กันยายน 2563


บันทึกการเรียนครั้งที่ 3

 บันทึกการเรียนครั้งที่ 3 

31 / สิงหาคม / 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3 




วันนี้อาจารย์ได้ให้นั่งเป็นครึ่งวงกลมและทำกิจกรรมแนะนำตนเองโดยที่ใช้ร่างกายของตนเองทำให้เกิดเสียงรอบแรกอาจารย์ให้ใช้อวัยวะทุกอย่างในร่างกายทำให้เกิดเสียงเป็นชื่อจริงเรารอบที่สองอาจารย์ให้งดใช้ อวัยวพส่วนแขนในการกระทบให้เป็นเสียง รอบที่สามอาจารย์ให้งดใช้อวัยวะส่วนขาทำให้เกิดเสียง การกระทำเหล่านี้ ช่วยพัฒนาสมองส่วนหน้าหรือเรียกได้ว่า EF



เรามารู้จัก EF กันดีกว่า
 EF คือ   (Executive Functions) เป็นกระบวนการทางความคิด (Mental process) ในสมองส่วนหน้า ที่เกี่ยวข้องกับการคิด ความรู้สึก และการกระทำ เช่น การยั้งใจคิดไตร่ตรอง การควบคุมอารมณ์ การยืดหยุ่นทางความคิด การตั้งเป้าหมาย วางแผน ความมุ่งมั่น การจดจำและเรียกใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดลำดับความสำคัญของเรื่องต่าง ๆ และการทำสิ่งต่าง ๆ อย่างเป็นขั้นเป็นตอนจนบรรลุความสำเร็จ ซึ่งเป็นทักษะที่มนุษย์เราทุกคนต้องใช้ เพื่อให้เกิด ความสำเร็จในการเรียน การทำงาน รวมทั้งการมีชีวิต ครอบครัว ทักษะ EF นี้นักวิชาการระดับโลกยืนยันแล้วว่า สำคัญกว่า IQ

   EF (Executive Functions) คือ การทำงานของสมองด้านการจัดการ ซึ่งมีอิทธิพลต่อความสำเร็จในชีวิต โดยอาศัยกระบวนการทางปัญญา (cognitive process) ต่างๆ เช่น การยับยั้งความคิด การแก้ปัญหา การวางเป้าหมาย การวางแผนการปฏิบัติ (goal-directed behavior) การจดจำ ความยืดหยุ่นทางปัญญา (cognitive flexibility) เป็นความสามารถในการควบคุมความคิดตนเอง เช่น มีรูปแบบความคิดที่หลากหลาย การคิดนอกกรอบ ความสามารถในการปรับเปลี่ยนความคิดและความสนใจตามสถานการณ์ รวมถึงการปฏิบัติตามคำสั่งที่ซับซ้อน

        กระบวนการทางปัญญาเหล่านี้สามารถพัฒนาได้ในวัยเด็กตอนต้น ผ่านกิจกรรมที่ต้องใช้ทักษะด้านสังคม อารมณ์ และร่างกายเพื่อช่วยส่งเสริม EF ให้ดีขึ้น เช่นการเล่นดนตรี เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่กระตุ้นการทำงานของ EF เพราะต้องอาศัยทักษะต่างๆ เช่น การมีสมาธิอย่างต่อเนื่อง ความยืดหยุ่นทางปัญญา การปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน (task switching)




        และหลังจากนั้นอาจารย์ได้ให้เราเคลื่อนไหวประกอบเพลง  (เพลง chickan dane ) ตามจินตนาการโดยจัดกลุ่ม กลุ่มละ 7 คน และให้แต่ละกลุ่มคิดท่าเต้นอิสระ แล้วนำออกมาเต้นทีละกลุ่ม โดยกิจกรรมนี้จะช่วยฝึกให้เรารู้จังหวะเพลงและท่าเต้นโดยการที่จะสอนเด็กไม่จำเป็นต้องคิดท่าเยอะเพราะเด็กจำท่าเราไม่ได้เวลาเราสอน  หลังจากนั้นอาจารย์ก็ได้สอนเต้นท่าง่ายๆเพราะจะทำให้เด็กจำได้ และพูดให้ความรู้ 

จบกิจกรรมนี้แล้วอาจารย์ก็ได้ให้กลุ่มที่ยังไม่ได้ออกมาทดสอบสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะออกมาสอนแล้วก็ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับกิจกรรมที่สอนว่าควรเพิ่มตรงไหนควรลดตรงไหนจบการเรียนการสอนวันนี้






ประเมินหลังการสอน

อาจารย์  : อาจารย์ให้ความรู้มากมายเทคนิคที่ไม่เคยรู้ สอนได้ดีมีการตั้งคำถาม มีกิจกรรมให้ทำทำให้ไม่น่าเบื่อ

เพื่อน : ตั้งใจเรียนและทำกิจกรรม

ตัวเอง : สรุกวันนี้เพราะได้ทำกิจกรรมเยอะ

 




บันทึกการเรียนครั้งที่2

 บันทึกการเรียนครั้งที่2

วันที่ 24 /สิงหาคม / 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่2

วันนี้ อาจารย์คุยเรื่องหน่วยการเรียนภาคที่ 1 พูดเรื่องแผนการสอน 
หลังการคิด 




พัฒนาการ หมายถึง ความสามารถของเด็กในแต่ละช่วงวัย ช่วงอายุ 
ลักษณะพัฒนาการ
- แบบต่อเรื่อง
- แบบขั้นบันได
- ลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง



ในแต่ละขั้นมีความสำคัญเพราะบันไดขั้นแรกก้าวแรกสำคัญกับขั้นที่สอง และขั้นต่อๆไป (ถ้าขั้นที่ 1 ไม่ดีก็มีผลต่อขั้นที่ 2 และต่อๆไป) ทุกๆพัฒนาการทุกช่วงมีความสำคัญเด็กถ้าได้รับการเริ่มต้นไม่ดีขั้นต่อไปก็จะเริ่มต้นไม่ดี ถ้ามีพัฒนาการที่ดีทุกอย่างก็จะดี 
ความต้องการคือ การจัดให้เหมาะสมตามช่วงวัย
เรื่องการสอนมาเกิดการเรียนรู้ /เกิดพฤติกรรม = วัดความเข้าใจ
ถ้าจะจัดประสบการณ์ = เด็กอธิบาย/ ร้องเพลง/ สื่อ /มือกระทำ : คิดวิเคราะห์/ สังเกต/ คำถามกระตุ้น 
การเล่นทำให้เป็นวิธีการของการเรียนรู้เนื้อหาเลือกให้สอดคล้องกับพัฒนาการการเรียนรู้จัดให้สอดคล้องกับวิธีการ  
และจะต้องสอดคล้องกับ 6 กิจกรรมหลัก 



1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายอย่างอิสระตามจังหวะ ซึ่งจังหวะและดนตรีที่ใช้ประกอบได้แก่ เสียงตบมือ เสียงเพลง เสียงเคาะไม้ เคาะเหล็ก รำมะนา กลอง ฯลฯ
2. กิจกรรมสร้างสรรค์ เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับงานศิลปศึกษาต่าง ๆ ได้แก่ การวาดภาพระบายสี การปั้น การพิมพ์ภาพ การพับ ตัด ฉีก ปะ และประดิษฐ์เศษวัสดุ ที่มุ่งพัฒนากระบวนการคิดสร้างสรรค์ การรับรู้เกี่ยวกับความงามและส่งเสริมกระตุ้นให้เด็กแต่ละคนได้แสดงออกตามความรู้สึกและความสามารถของตนเอง
3. กิจกรรมเสรี เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เล่นกับสื่อและเครื่องเล่นอย่างอิสระในมุมการเล่นกิจกรรมการเล่นแต่ละประเภทสนองตอบความต้องการตามธรรมชาติของเด็ก
4. กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้ฟัง พูด สังเกต คิด และปฏิบัติการทดลอง ให้เกิดความคิดรวบยอดและเพิ่มพูนทักษะต่าง ๆ ด้วยวิธีการหลากหลาย เช่น การสนทนา ซักถามหรืออภิปราย สังเกต ทัศนศึกษา และปฏิบัติการทดลองตามกระบวนการเรียนรู้
5. กิจกรรมกลางแจ้ง เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้ออกนอกห้องเรียนไปสู่สนามเด็กเล่นทั้งที่บริเวณกลางแจ้งและในร่มเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกอย่างอิสระ โดยยึดเอาความสนใจ และความสามารถของเด็กแต่ละคนเป็นหลัก
6. กิจกรรมเกมการศึกษา เป็นกิจกรรมการเล่นที่มีกระบวนการในการเล่นตามชนิดของเกมประเภทต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียน

และหลังจากนั้นอาจารย์ให้เขียนแผน คนละที่1 แผน เป็น กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ แล้วหลังจากนั้นก็ให้กลุ่มที่ 1 ออกมาทดสอบลองสอน จบการเรียนการสอนวันนี้



ประเมินหลังการสอน

อาจารย์ : อาจารย์ให้ข้อคิดและตั้งคำถามทำให้เกิดการเรียนรู้

เพื่อน : ตั้งใจเรียนเพราะอาจารย์มีแนวการสอนที่แปลกใหม่

ตัวเอง : ตั้งใจเรียนแต่ก็มีสมาธิหลุดบ้างเพราะเนื้อหาบางเรื่องเรายังไม่ค่อยตั้ง





บันทึกการเรียนครั้งที่ 1

 บันทึกการเรียนครั้งที่ 1 

วันที่ 17/ สิงหาคม/ 2563 

 บันทึกการเรียนครั้งที่ 1 

ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้เป็นอาจารย์ให้แบ่งกลุ่มตามโรงเรียนที่ไปสังเกตการสอนแล้วก็ถามเกี่ยวกับว่าได้อะไรจากการไปสังเกตกานสอนโรงเรียนนี้ ให้เทคนิคอะไรบ้าง แล้วก็พูดเกี่ยวกับแผนการสอนที่นำไปสอนคือ การเคลื่อนไหวและจังหวะ
วัตถุประสงค์ของเคลื่อนไหวและจังหวะคืออะไรมีอะไรบ้าง
1. เคลื่อนไหวแบบบรรยาย
2. เคลื่อนไหวตามจินตนาการ
3. เคลื่อนไหวแบบใช้อุปกรณ์
4. เคลื่อนไหวตามคำสั่ง
5. เคลื่อนไหวประกอบเพลง

เคลื่อนไหวพื้นฐานมีอะไรบ้าง 
1.เคลื่อนไหวเคลื่อนที่
2.เคลื่อนไหวอยู่กับที่

ทิศทางของการเคลื่อนไหว
หันทางซ้าย หันทางขวา !!! เราจะไม่ใช้คำพวกนี้ ให้เปลี่ยนเป็น หันมาใช้คำนี้ หันความคิดสร้างสรรค์ อิสระ 


อาจารย์ได้ให้เทคนิคการเก็บเด็ก “เพลง “ แต่งโดย ศร.รำไพ



เพลงที่ 1:  มือกุมกัน แล้วก็ยืนตรงๆ (ซ้ำ) ยืนน้อยืนน้อ ยืนน้อ ยืนตรง 



เพลงที่ 2: เพลงนั่งสมาธิ
นั่งขัดสมารให้ดี สองมือวางทับกันทันที หลังตานั่งตัวตรงสิ ตั้งสติให้ดี ภาวนาในใจ
 ‘พุทธ โธ พุทธ โธ พุทธ โธ’

 หลังจากนั้นอาจารย์ได้มอบหมายงาน โดยแจกกระดาษมูฟ 1 แผ่น และสีปากกา และจับกลุ่ม 5 คน 
ทำมายแมพเกี่ยวกับ ‘ กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ’ จากที่ทุกคนเคยเรียนมาให้นำเอาความรู้ทั้งหมดมาเขียนใน MY Maps


 
กลุ่มดิฉันได้ทำ ‘ กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ’


กิจกรรมพื้นฐาน
1. การเคลื่อนไหวอยู่กับที่ เช่น การก้มตัว การบิดตัว การหมุนตัว การเอียง การดัน การดึง
2. การเคลื่อนไหวเคลื่อนที่ การเดิน การวิ่ง กระโดเขย่ง กระโดด กระโจน กระโดดสลับเท้า

กิจกรรมสัมพันธ์เนื้อหา
1. เคลื่อนไหวตามข้อตกลง
2. เคลื่อนไหวผู้นำผู้ตาม 
3. เคลื่อนไหวตามอุปกรณ์
4. เคลื่อนไหวประกอบเพลง
5. เคลื่อนไหวบรรยาย
6. เคลื่อนไหวตามจิตตนาการ
7. เคลื่อนไหวแบบเลียนแบบ

วัตถุประสงค์ 
1. พัฒนาอวัยวะทุกส่วนของร่างกายให้ได้เคลื่อนไหวอย่างสัมพันธ์กัน
2. ให้เด็กได้ผ่อนคลายความตึงเครียด
3. สนองความต้องการตามธรรมชาติมีความสนใจและความพอใจของเด็ก
4.  พัฒนาทักษะทางด้านสังคมการปรับตัวและความร่วมมือในกลุ่ม
5. ฝึกการเป็นผู้นำผู้ตามที่ดี

แล้วหลังจากนั้นก็ส่ง อาจารย์ได้ให้เทคนิคการจัดบอดให้ดูดี




จบการเรียนการสอนวันนี้นตัวตลอดเวลา

ประเมินหลังการสอน

อาจารย์ : สื่อความรู้ให้ตัวนักศึกษาได้ดีมีการตั้งคำถาม สอนให้คิดให้รู้จักทำ

เพื่อน : เพ่อนตั้งใจเรียนทุกคน ใส่ใจคำพูดอาจารย์ ตอบคำถมได้ดีเวลาอาจารย์ถาม ช่วยกันตอบ

ตัวเอง: ตั้งใจเรียนเพราะอาจารย์มีคำถามเราตลอดเวลาทำให้เราตื่นตัวตลอดเวลา










คลิปวีดีโอการสอนวิดีโอ

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14

 บันทึกการเรียนครั้งที่ 14 16 /พฤศจิกายน / 2563 วันนี้เป็นวันสุดท้ายที่ได้เรียนและวันนี้อาจารย์ก็ให้ทำกิจกรรมซึ่งเขียนความรู้ทั้งหมดที่เราเร...